วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การแก้ปัญหาหลังจากอัพเดท MVC แล้วเกิด Object reference not set to an instance of an object. โดย Microsoft.Owin.Security.Cookies.CookieAuthenticationProvider.Exception

ตรงจุดนี้ เราจะไม่สามารถรันหรือ Debug อะไรได้เลย  เนื่องจาก Error ตั้งแต่ Start เลย  ลองค้นดู
            
app.UseCookieAuthentication(new CookieAuthenticationOptions
            {
                AuthenticationType = DefaultAuthenticationTypes.ApplicationCookie,
                LoginPath = new PathString("/Account/Login"),
                Provider = new CookieAuthenticationProvider
                {
                    // Enables the application to validate the security stamp when the user logs in.
                    // This is a security feature which is used when you change a password or add an external login to your account.  
                    OnValidateIdentity = SecurityStampValidator.OnValidateIdentity<ApplicationUserManager, ApplicationUser>(
                        validateInterval: TimeSpan.FromMinutes(30),
                        regenerateIdentity: (manager, user) => user.GenerateUserIdentityAsync(manager)),

                        //**** This what I add ****//
                        OnException = context => {}
                }
            });

โดยการแสดงปัญหาจากตัว Authentication นั้น เอามาจากที่นี่

http://stackoverflow.com/questions/26327092/why-is-owin-throwing-a-null-exception-on-new-project

โดยเพิ่ม OnException เข้าไป จะพบกับ Error
Multiple object sets per type are not supported. The object
 sets 'ApplicationUsers' and 'Users' can both contain instances of type 
'CommandTracking.Models.User'.
แทน  ทีนี้ ลอง ค้นหาดูจะพบว่า ปัญหานี้ เกิดจาก ตัว Update ของ EntityFramework ที่เพิ่ม IDbset<TUser> Users ขึ้นมา ทำให้หากใน Project ของเรา มีตัว DbSet<ApplicationUser> เอาไว้ จะทำให้ เกิดการซ้ำซ้อนกันได้  แก้ไขโดย ลบ DbSet<ApplicationUser> ที่สร้างขึ้นเอง และ แก้ไขตัว db.<user> ที่เราใช้ ให้ไปใช้ db.Users แทน

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปัญหา Cache จากการใช้ Entity Framework 6

สืบเนื่องมาจากมีข้อมูลอยู่ชุดหนึ่ง  ซึ่งพยายามที่จะอัพเดทมัน แต่ดูเหมือนอัพเดทได้อันเดียว อันที่เหลือ มีค่าแปลกๆ แม้จะเทสแล้วก็ตาม ลอง Debug ดู พบว่า มันจำค่าเดิม  โดยที่ไม่ได้สร้างลง Cache เอาไว้ หลังจากหาอยู่พักหนึ่ง ก็พบว่า  ถ้าใช้ .Find ในโปรเจ็ค  คำสั่งนี้ จะเรียกจาก แคช ก่อนเสมอ

ทำให้ค่าบางตัวที่ไม่ต้องการแคชเพี้ยนไป  แก้ได้ด้วยการใช้คำสั่ง  พวก .Single .First .Where แทน การใช้ .Find

แต่ถ้าหากตัวไหน ต้องการ Performance  ก็ให้ใช้ .Find ไป

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

การสมัคร Amazon web services

Amazon web service เป็นบริการ Cloud ที่หลากหลายครับ ซึ่งหลักๆ  ที่ผมใช้ ก็จะเป็น EC 2 ที่เป็นคอมพิวเตอร์เสมือนใน Cloud หรือ S3 ที่เป็นเหมือน External Harddisk ที่เก็บข้อมูล ไว้บน Cloud อีกที นอกนั้น ผมก็ไม่ได้ใช้นะ  ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำอะไรได้บ้าง  ซึ่งจุดประสงค์ของผมที่ใช้คือ ไว้เป็นเซิฟเวอร์ส่วนตัว หรือเป็นที่เก็บไฟล์  เผื่อว่าโน๊ตบุ๊คเจ๊ง  อะไรประมาณนี้

ซึ่งการสมัครใหม่ Amazon จะให้ทดลองใช้ฟรี 1 ปีครับ (ในเงื่อนไขที่กำหนด)   สำหรับค่าบริการราคาก็ค่อนข้างปานกลางนะ  สำหรับค่าเงินของเรา ที่ยังน้อยกว่าชาวบ้านเขา  แต่สำหรับที่อื่น ก็ถือว่าถูกครับ ไม่แพงมาก  เราสามารถเลือกโซน ที่เซิฟเวอร์เราจะตั้งอยู่ได้ เลือกระบบปฏิบัติการได้  ราคาก็ต่างกันไปแต่ละแพ็คเกจครับ อ้อ เซิฟเวอร์ี่ว่านี้ ดีครงที่เสถียรนะครับ แถมสร้างโคลนได้อีกต่างหาก  บันทึกสถานะเซิฟเวอร์ นะตอนนั้นได้  แบบใช้ๆ ไปอยากย้อนไปตอนที่เพิ่งลง Windows ใหม่ๆ  ก็ทำได้เช่นกัน (แต่การเก็บข้อมูลเยอะ ๆ มีค่าใช้จ่ายนะครับ)

เริ่มต้น สิ่งที่เราจะต้องมี คือ
1. Email สำหรับ สมัคร Amazon
2. รหัสบัตรเครดิต (ที่ใช้งานได้นะครับ ใช้ของตัวเองนะครับ อย่าใช้ของคนอื่น)
ถ้ายังไม่สามารถทำบัตรเครดิตได้ แนะนำ ให้ทำ KTC Web card ครับ ใช้แทนบัตรเครดิตได้  ด้วยการเปิดบัญชีกับ KTC (ไม่ต้องทำบัตรเอทีเอ็มก็ได้นะ) แล้วเปิดบัญชีออนไลน์ครับ  มียอดเงินในบัญชีเท่าใหร่ ใช้ได้เท่านั้น
3. เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้งานได้ครับ

(Tutorial นี้ เขียนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 นะครับ ในอนาคตหน้าจอหรือวิธีการอาจไม่เหมือนเดิมนะครับ)
เอาล่ะครับ เริ่มกันเลย  อย่างแรก ไปที่เว็บ
http://aws.amazon.com/
คลิกที่ปุ่มทางด้านขวา Create a Free Account
ในหน้านี้ ก็ใส่ Email ของเราลงไปเลยครับ เลือกเป็น I am a new User หรือถ้าเคยใช้ Amazon ซื้อของอยู่แล้ว ให้เลือก I am a returning user and my password is: แล้วใส่รหัสผ่านได้เลยครับ  จากนั้นคลิกปุ่มสีเหลือง ด้านล่าง "Sign in using our secure server"

ในทีนี้ ผมสมัครใหม่นะครับ เนื่องจาก Email เก่า ๆ ผม ทดลองใช้หมดแล้วครับ สำหรับคนที่มี user อยู่แล้ว ก็ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย

หน้าจอนี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ  ใส่ email (ซึ่งใช้เป็น username ของเรา) และรหัสผ่านครับ
หลังจากสมัครเสร็จแล้ว  Amazon ก็จะบอกว่า เรายังไม่ได้สมัคร Amazon Web service นะ เพราะเมื่อกี้เราแค่สร้าง Account ใน Amazon ครับ (ใช้ตัวเดียวกัน)
ก็ให้คลิกที่ sign up for AWS นะครับ  จะพบกับหน้าจอให้กรอกรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร

ก็หลังจากกรอกเรียบร้อยแล้วก็กดต่อไปครับ  หน้าจอถัดไปจะเป็นการใส่ข้อมูลบัตรเครดิตครับ  ก็ใส่ข้อมูลหมายเลขบัตรของเราให้ถูกต้องครับ (ใครไม่มีบัตรเครดิตจริง สมัครบริการ Kwebcard แทนได้นะครับ) หลากจากกรอกไป ระบบจะทดลองตัดเงินเราไป 1$ ไม่ต้องห่วงนะครับ คืนให้ทีหลัง
หลังจากนั้น ถัดไปจะเป็นระบบการยืนยันเบอร์โทรเราครับ  ก็ไม่มีอะไรมาก  ตรวจสอบหมายเลขของเราให้เรียบร้อย แล้วคลิก Call Me Now เลยครับ

ไม่ต้องตกใจนะครับ  จะเป็นระบบอัตโนมัติโทรมาหาเรา  ให้เรารับ เพื่อกรอกหมายเลย Pin รหัสบนหน้าจอเราครับ  ถ้าฟังไม่รู้เรื่อง  ก็ง่ายๆ ครับ รอให้เขาพูดให้จบ แล้ว กดตัวเลขได้เลย  ครบ 4 ตัว ถ้าเลขถูกต้อง ระบบจะขอบคุณและวางหูไปเองครับ หลังจากนั้นจะเป็นการเลือก Support Plan ครับ ก็ง่าย ๆ คลิกเลยครับ มีปุ่มเดียว
ต่อไปเป็นรายการ support plan ก็เลือกตามสะดวกเลยครับ  แต่แน่นอนครับ สำหรับการทดลองใช้หรือผู้เริ่มใช้ ผมแนะนำแบบ Free ครับ  แต่ถ้ามีงบก็จัดตามสะดวกเลยครับ
หลังจากเลือกแล้วคลิกปุ่ม Continue ก็เป็นอันเสร็จพิธีครับ  พร้อมใช้งาน ก็คลิกปุ่ม Sign Up ด้านบน หรือ ปุ่ม Launch Management Console ก็ได้ครับ
ก็จะกลับมาหน้าจอเดิมตอนเริ่มแรกเลยครับ แต่ครั้งนี้ให้กรอก username (email ของเรา) และรหัสผ่าน เข้าไปนะครับ
Log in เข้าไปแล้ว จะพบชื่อ เรา ทางด้านขวาบนนะครับ  รวมถึง Zone ที่เราใช้งานอยู่ข้างๆ  และรายการบริการต่าง ๆ ของ Amazon web service ครับ
ก็จบแต่เพียงเท่านี้ สำหรับการสมัคร Amazon web service นะครับ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

การแสดง pdf ลงในเว็บเพจ ให้แสดงทันที โดยไม่ต้องดาวน์โหลด

ทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ใช้ Google Docs embeddable PDF Viewer
<iframe src="http://docs.google.com/gview?url=http://xxx/xxx.pdf&embedded=true" style="width:600px; height:500px;" frameborder="0"></iframe>

2. ใช้ pdf.js

3. ใช้ embed tag
<embed src="xxx.pdf" />

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

การแก้ไขปัญหาลบ Port Printer แล้วแจ้ง The requested resource is in use.

ให้ทำการลบ Device Printer ออก แต่ถ้าหากลบออกแล้ว  ยังไม่สามารถลบ Port ได้  อาจมีการทำงานค้างอยู่  ให้ไปที่ Services หรือ
Control Panel > System and Security > Administrative Tools > Services

ทำการ Stop service ที่ชื่อ Print Spooler แล้ว Start ใหม่ หรือใช้คำสั่ง Restart ก็ได้  เพื่อเคลียร์ค่าการทำงานที่ค้างอยู่

การลบ Port Printer ที่ไม่ใช้ออกจาก Windows

เปิดไปที่หน้ารายการ Printer หรือ
Control Panel > Hardware and Sound > Device and Printers

คลิกที่ Printer ตัวใดตัวหนึ่ง  เมนูด้านบน จะแสดงเพิ่มเติมขึ้นม ให้คลิกที่ เมนู Print server properties แล้วเลือก Tab Ports เพื่อลบ Port ที่ไม่ต้องการออก

หากลบแล้ว ขึ้นคำสั่ง The requested resource is in use. ดูเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ ด้านล่างนี้

http://itclubth.blogspot.com/2014/09/port-printer-requested-resource-is-in.html